การผสมวงดนตรีไทย


  เครื่องดนตรีหรือเครื่องดีดสีตีเป่า ของไทยที่นิยมเล่นกันมาแต่โบราณนั้น บางอย่างก็นำมาใช่เล่นเดี่ยว (คือ บรรเลงคนเดียว)เช่น ซอและขลุ่ย แต่หลายอย่างใช้ในการเล่นผสมวง(คือเล่นรวมกันหลายคนและหลายเครื่อง) การเล่นผสมวงก็ผสมหลายอย่างหลายชนิด ต่อมาการจัดเครื่องดนตรีเข้าผสมวงและวิธีเล่นได้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ แต่การเล่นผสมวงนั้นข้อสำคัญอยู่ที่การปรับเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นให้เสียงประสานกลมกลืนเข้ากัน เกิดเป็นเสียงดนตรีที่ไพเราะ มิใช่ต้องการแต่ให้มีคนเล่นมากและเกิดเสียงดังอึกทึกครึกโครม ฟันแล้วหนวกหูใม่เป็นเสียงเพลง และฟังไม่ไพเราะการเล่นผสมวงของดนตรีหรือเครื่องดีดสีตีเป่าของไทยแต่โบราณ
(๑) วงมโหรี
(๒) วงปี่พาทย์
(๓) วงเครื่องสาย
วงมโหรี
  มโหรี ที่กล่าวถึงในกฎมนเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น จะผสมวงกันอย่างไร ? ใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้าง มิได้ระบุถึงไว้ แต่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ใน "เรื่องตำนานเครื่องมโหรี" ว่า "เครื่องดีดสี ซึ่งมาคิดประดิษฐ์ขึ้น เรียกว่า มโหรี นั้น ……เดิมก็เป็นของผู้ชายเล่น แต่ต่อมาเกิดชอบฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งมีบริวารมากจึงมักหัดผู้หญิงเป็นมโหรี ๆ ก็กลายเป็นของผู้หญิงเล่นมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี"

วงมโหรี ชั้นเดิม ( ๔ คน )
  สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายไว้ว่า "มโหรีชั้นเดิม วงหนึ่งคนเล่นเพียง ๔ คน เป็นคนขับร้องลำนำและตำกรับพวงให้จังหวะเอง คน ๑ สีซอสามสายประสานเสียง คน ๑ ดีดกระจับปี่ ให้ลำนำ คน ๑ ตีทับประสานจังหวะกับลำนำ คน ๑ " แล้วทรงประทานอธิบายต่อไปว่า "มโหรีทั้ง ๔ สิ่งที่พรรณนามานี้ พึงสังเกตเห็นได้ว่ามิใช่อื่น คือเอาเครื่องบรรเลงพิณกับเครื่องขับไม้มารวมกันนั่นเอง เป็นแต่ใช้ดีดกระจับปี่แทนพิณ ตีทับแทนไกวบัณเฑาะว์ และเติมกรับพวงสำหรับให้จังหวะเข้าอีกอย่างหนึ่ง" เช่นที่กล่าวถึงในพระราชนิพนธ์บทละคอนอิเหนา (เล่ม ๒ หน้า ๓๓๑ ) ว่า "ทรงสดับขับไม้มโหรี ซอสีส่งเสียงจำเรียงราย "
วงมโหรี ชั้นต่อมา ( ๕ คน)ได้พบ "คำโคลง " บทหนึ่ง ในหนังสือจินดามณี (เล่ม ๑ - ๒ หน้า ๔๕ ) พรรณนาถึงวงมโหรีไว้ว่า
นางขับขานเสียงแจ้ว พึงใจ
ตามเพลงกลอนกลใน ภาพพร้อง
มโหรีบรรเลงไฉน ซอพาทย์
 พิจารณาตามโคลงทบนี้ วงมโหรีมีคนเล่น ๕ คน คือ นางขับร้อง (คงตีกรับด้วย) คน ๑ เป่าปี่ หรือขลุ่ย คน ๑ สีซอสามสาย คน ๑ ตีทับ คน ๑ ดีดกระจับปี่ คน ๑ คำ "ปี่ไฉน" ในโคลงบทนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นปี่ไฉนจริง ๆ เพราะคำ "ไฉน" บางครั้งก็กล่าวหมายถึงปี่หรือเครื่องเป่า จึงอาจเป็นเครื่องเป่าชนิดใด ๆ เช่น ขลุ่ยก็ได้ เช่นที่กล่าวถึงในบทละคอนเรื่องนางมโนห์ราครั้งกรุงเก่า ว่า "เสมือนปี่ไฉนในบุรี เสมือนเสียงมโหรีเพราะวังเวง" หรือที่กล่าวถึงในพระราชนิพนธ์บทละคอนอิเหนาว่า "ไพเราะเพียงดนตรีปี่ไฉน" อาจหมายถึงขลุ่ยนั่นเองก็ได้ เพราะเมื่อผสมวง ๖ คน ก็ใช้ชุ่ย ดังจะกล่าวถึงข้างหน้า โคลงบทนี้ อาจพรรณนาถึงวงมโหรีตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. ๒๑๔๘ -๒๑๖๓ ) หรือก่อนหน้านั้น ลงมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ) ซึ่งเป็นสมัยที่พระโหราธิบดีแต่งคัมภีร์จินดามณีนี้ ทูลเกล้า ฯถวาย ก็ได้
วงมโหรี ๖ คน
  สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายต่อไปว่า "ตั้งแต่มโหรีผู้หญิงเกิดมีขึ้น ก็เห็นจะชอบเล่นกันแพร่หลาย จึงเกิดเป็นเหตุให้มีผู้คิดเพิ่มเติมเครื่องมโหรีขึ้นโดยลำดับมา เครื่องมโหรีที่เพิ่มเติมขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี (สังเกตตามที่ปรากฎในภาพเขียนแต่สมัยนั้น) คือ รำมะนา สำหรับตีประกอบกับทับ อย่าง ๑ ชลุ่ยสำหรับเป่าให้ลำนำ อย่าง ๑ มโหรี วงหนึ่ง จึงกลายเป็น ๖ คน " ถ้าคำ "ปี่ไฉน" ในบทโคลงข้างต้นหมายถึงขลุ่ย ก็เพิ่มแต่ทับอย่างเดียว ภาพเขียนสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ฝาผนังด้านตะวันตกในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขียนรูปวงมโหรีหญิงมีคนเล่น ๖ คน ภาพเขียนดังกล่าวนี้ หรือเขียนตามที่ยังมีบางวงนิยมเล่นอยู่ในสมัยนั้น ตามแบบครั้งกรุงศรีอยุธยา
วงมโหรี ๑๐ คน
  แต่ที่บานตู้ไม้ลายจำหลัก เรื่องภูริทัตตชาดก สมัยกรุงศรีอยุธยา (อยู่ในหอสมุดแห่งชาติ) มีคนเป่าขลุ่ย ๒ คน และมีฆ้องวงอีก ๑ วงด้วย ฆ้องวงนี่กระมังที่ภายหลังปี่พาทย์นำเอาไปผมวงในวงปี่พาทย์เครื่องคู่และยังเรียกกันว่า "ฆ้องมโหรี" เป็นพยานอยู่ เพราะฉะนั้น วงมโหรีตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจมีคนเล่นผสมวงถึง ๙ คน เช่นภาพเขียนสีที่ผนังวิหารพระนอนตรงเบื้องพระเศียรพระพุทธไสยาศ ในวัดพระเชตุพน หรือ ๑๐ คน ก็ได้ เช่นที่กล่าวถึงเครื่องเล่นผสมวงไว้ใน "เพลงยาวไหว้ครูมโหรี" ครั้งกรุงศรีอยุธยา คำว่า "ซอ" ที่กล่าวถึงตลอดมา หมายถึง ซอสามสาย และพึงสังเกตว่าวงมโหรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยายังไม่มี ซออู้ ซอด้วง และจะเข้ เข้าเล่นผสมวง สมัยกรุงธนบุรี ปรากฎในหมายรับสั่งงานสมโภชพระแก้วมรกต ระบุมโหรีไทย มโหรีแขก มโหรีจีน มโหรีเขมร มโหรีญวน และมโหรีฝรั่ง ไว้รวมหลายวงจะมีลักษณะวงเครื่องบรรเลงเป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่กล่าวถึงมโหรีไทยว่า "หมื่นราชาราช มโหรีไทย ชาย ๒ หญิง ๔ " ถ้าเช่นนั้น วงมโหรีไทยสมัยกรุงธนบุรีคงเล่น ๖ คน ตามแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา ถ้ามิใช่เพราะเป็นเวลาหาศิลปินได้ยาก ก็แสดงว่า มีชายหญิงเล่นรวมวงกัน
วงมโหรี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายต่อไปว่า "มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่มเติมเครื่องมโหรีขึ้นอีกหลายอย่าง เอาเครื่องปี่พาทย์เข้าเมเป็นพื้น เป็นแต่ทำขนาดย่อมลง ให้สมกับผู้หญิงเล่น(๑) เล่ากันมาว่า เมื่อในรัชกาลที่ ๑ เติมระนาดไม้กับระนาดแก้ว เป็นเครื่องมโหรีขึ้นอีกเป็น ๒ อย่าง รวมมโหรีวงหนึ่งเป็น ๘ คน มาในรัชกาลที่ ๒ เลิกระนาดแก้วเสีย ใช้ฆ้องวงแทน(๒) และเพิ่มจะเข้เข้าในเครื่องมโหรีอีกสิ่ง ๑ รวมมโหรีวงหนึ่งเป็น ๙ คน ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อคิดทำระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเพิ่มขึ้นในเครื่องปี่พาทย์ ก็เพิ่มของ ๒ สิ่งนั้นเข้าในเครื่องมโหรีกับทั้งใช้ฉิ่ง(๓) แทนกรับพวง ให้เสียงจังหวะดังขึ้นสมกับเครื่องมากสิ่งถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อคิดทำระนาดทองและระนาดเหล็กขึ้นใช้ในเครื่องปี่พาทย์ ของ ๒ สิ่งนั้นก็เพิ่มเข้าในเครื่องมโหรีด้วย มโหรีชั้นหลัง วงหนึ่งจึงเป็น ๑๔ คน คล้ายกับปี่พาทย์ เป็นแต่มโหรีมีเครื่องสาย และไม่ใช้กลอง และผิดกันเป็นข้อสำคัญอย่างหนึ่งที่มโหรีเป็นของผู้หญิงเล่น ปี่พาทย์เป็นของผู้ชายเล่นเป็นพื้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เครื่องมโหรีลดกระจับปี่ละฉาบมิใคร่ใช้กัน จึงกลับคงเหลือ ๑๒ คน" การเล่นมโหรีผู้หญิงมาเสื่อมโทรมลงเมื่อในรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เอกชนใคร ๆ มีละคอนผู้หญิงได้ เอกชนจึงนิยมให้ผู้หญิงหัดละคอนไม่นิยมหัดให้เล่นมโหรีเหมือนแต่ก่อน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ว่า "เมื่อมโหรีผู้หญิงร่วงโรยลงครั้งนั้น ผู้ชายบางพวกซึ่งหัดเล่นเครื่องสายอย่างจีน จึงคิดเอาซอด้วง ซออู้ จะเข้ กับปี่อ้อ เข้าเล่นประสมกับเครื่องกลองแขก……ครั้นต่อมาเอากลองแขกกับปี่อ้อออกเสีย ใช้ทับกับรำมะนาและขลุ่ยแทนเรียกว่า "มโหรีเครื่องสาย" บางวงก็เติมระนาดและฆ้องเข้าด้วย จึงเกิดมโรีเครื่องสายผู้ชายเล่น แทนมโหรีผู้หญิงอย่างเดิมสืบมาจนทุกวันนี้" วงดังกล่าวนี้มีผู้เล่นรวมวง ๑๐ คน ทั้งคนตีฉิ่งขับร้อง แต่ที่เรียกกันว่า "มโหรีเครื่องสาย" อาจนำเอาคำ "มโหรี" มาใช้ควบคำผิดที่ เพราะไม่ทราบที่มาและความหมายของคำ "มโหรี" น่าจะเรียกว่า "วงเครื่องสาย" เช่นที่เรียกทุกวันนี้ เพราะวงมโหรีกับวงเครื่องสาย มีลักษณะต่างกัน โปรดดูต่อไป
วงมโหรี สมัยปัจจุบัน วงมโหรีที่นิยมใช้บรรเลงกันอยู่ในปัจจุบัน เห็นได้ว่า รวมเอาเครื่องดีดสี เช่น ซอ จะเข้ และเครื่องตีเป่า เช่น ระนาด ฆ้อง โทน รำมะนาด ฉิ่ง ฉาบ และขลุ่ย เข้าผสมวง แต่ย่อขนาดเครื่องตีบางอย่าง เช่น ระนาด และฆ้องวง ให้เล็กลง ปรับเครื่องตีเป่าที่ผสมวงให้เสียงประสานกลมกลืนกันกับเครื่องดีดสี และเล่นรวมวงกันได้ทั้งศิลปินชายหญิง กำหดวงตามจำนวนศิลปินและเครื่องดนตรีที่รวมผสมวงเป็น ๓ ขนาด เรียกชื่อวงตามจำนวนเครื่องและศิลปิน ดังนี้

(ก)วงมโหรีเครื่องเล็ก ประกอบด้วยเครื่องบรรเลง ดังนี้

๑. ซอสามสาย ๑ คัน
๒. ซอด้วง ๑ คัน
๓. ซออู้ ๑ คัน
๔. จะเข้ ๑ ตัว
๕. ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
๖. ระนาดเอก ๑ ราง
๗. ฆ้องกลาง ๑ วง
๘. โทน ๑วง
๙. รำมะนา ๑ ตัว
๑๐. ฉิ่ง ๑ คู่

(ข) วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องบรรเลง ดังนี้
๑. ซอสามสาย ๑ คัน
๒. ซอสามสายหลิบ ๑ คัน
๓. ซอด้วง ๒ คัน
๔. ซออู้ ๒ คัน
๕. จะเข้ ๒ ตัว
๖. ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
๗. ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา
๘. ระนาดเอก ๑ ราง
๙. ระนาดทุ้ม ๑ ราง
๑๐. ฆ้องใหญ่ ๑ วง
๑๑. ฆ้องเล็ก ๑ วง
๑๒. โทน
๑๓. รำมะนา
๑๔. ฉิ่ง
๑๕. ฉาบเล็ก
(ค) วงมโหรีเครื่องใหญ่
๑. ซอสามสาย ๑ คัน
๒. ซอสามสายหลิบ ๒ คัน
๓. ซอด้วง ๒ คัน
๔. ซออู้ ๒ ตัว
๕. จะเข้ ๒ ตัว
๖. ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
๗. ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา
๘. ระนาดเอก ๑ ราง
๙. ระนาดเอก ๑ ราง
๑๐. ฆ้องใหญ่ ๑ วง
๑๑. ฆ้องเล็ก ๑ วง
๑๒. ระนาดเอกเหล็ก ๑ ราง
๑๓. ระนาดทุ้มเหล็ก ๑ ราง
๑๔. โทน
๑๕. รำมะนา
๑๖. ฉิ่ง
๑๗. ฉาบเล็ก
๑๘. โหม่ง
หลักการของวงมโหรี
 จะเห็นได้ว่า วงมโหรี แม้จะมีวิวัฒนาการทางศิลปโดยปรับปรุงทั้งเครื่องดนตรีและวิธีบรรเลง เพื่อให้เกิดเสียงประสานกลมกลืนไพเราะมาโดยลำดับ เช่นนิยมเล่นกันในปัจจุบัน แต่เครื่องดนตรีชิ้นสำคัญของวงมโหรีที่ยังถือเป็นหลักอยู่ตลอดมา ก็คือซอสามสายและทับกับหลักการสำคัญอันเป็นหัวใจของวงมโหรีอีกประการหนึ่ง ก็เห็นจะได้แก่การขับร้อง ดังจะเห็นได้จากคำโคลงในหนังสือจินดามณีที่ว่า "นางขับขานเสียงแจ้ว พึงใจ" และถ้า "(ม)โหรี" มีที่มาของคำและเป็นชื่อของเพลงขับร้องบรรยายถึงเรื่องงานนักขัตฤกษ์โหลี เช่นกล่าวมาข้างต้น สาระสำคัญของวงมโหรี ก็น่าจะอยู่ที่ขับร้องด้วย โดยลักษณะมโหรีเป็นวงดนตรีประเภทบรรเลงขับกล่อม สำหรับฟังเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ มิใช่วงบรรเลงที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลปโขนละคอนฟ้อนรำ เช่นปี่พาทย์ และมิใช่บรรเลงประกอบในงานพิธี เช่น ขับไม้ ดังที่เรามี "บทขับร้อง" และ "ตำราเพลงมโหรี" เป็นบทร้องของโบราณเหลือเป็นพายานสืบมาเช่น ที่หอสมุดฯ ได้จัดพิมพ์ไว้เมื่อ ๒๔๗๑ เรียกว่า "ประชุมบทมโหรี" และระบุไว้ใน "เพลงยาวตำรามโหรี"ข้างต้นว่า
ข้าไหว้ครูซอขอคำนับ ขับบรรสานสายสุหร่ายเรื่อง
มโหรีแรกเริ่มเฉลิมเมือง บอกเบื้องฉบับบุราณนาน
และใน "เพลงยาวไหว้ครูมโหรี" ก็ระบุถึงเป็นเค้าว่ามีการขับร้องเป็นหลักการสำคัญ ซึ่งกล่าวไว้ว่า
ยอกรกึ่งเกล้าบงกชเกศ ไหว้ไทเทเวศเป็นใหญ่
อันรอบรู้ครูครอบพิณไชย สถิตในฉ้อชั้นกามา
ทรงนามชื่อว่าปัญจศีขร ได้สั่งสอนสานุศิษย์ในแหล่งหล้า
เป็นตำหรับรับร้องสืบมา ปรากฎเกียรติในแผ่นดินดอน
ช้าขอชลีกรรมคำนับ ประคนธรรพด้วยใจสโมสร
จะดีดสีขับร้องทำนองกลอน จงศรีสถาพรทุกประการฯ
หรือที่กล่าวถึงไว้ในพระราชนิพนธ์บทละคอนอิเหนา(เล่ม ๒ หน้า ๓๓๑ ) ก็ระบุถึงซอสามสายและขับร้องเพลงมโหรี เป็นหลักว่า
จึงขึ้นหย่อนลองซอประสานเสียง สำเนียงนิ้วหนักชักคันสี
ร้องรับขับเพลงมโหรี ท่วงทีเป็นทำนองโอดพัน
วงปี่พาทย์
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
  วงปี่พาทย์ ของไทยคงมีม่แต่โบราณกาลอย่างน้องก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่ในสมัยนั้นจะใช้เครื่องดนตรีกี่ชิ้น? และเรียกชื่อวงว่าอะไร?ลองติดตามค้นหามาพิจารณากันดู ได้พบคำจารึกกล่าวถึงการรื่นเริงสนุกสนานหลังจากงานทอดกฐิน สมัยกรุงสุโขทัยในรัชกาลพ่อยุนรามคำแหง กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า " เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้น เท้าหัวลาน ดํบงคํกลอย ด้วยเสียง พิณเสียงเลื่อนเสียงขับ" จะแปลความหามายว่า "เสียงประโคมดังครึกครื้นรื่นเริงสนุกสนานด้วยเสียงพาทย เสียง พิณ และเสียงเลื่อนเสียงขับ" ได้หรือไม่? อย่างไรก็ตาม คำจารึกวรรคนี้พอจะแยกเสียงบรรเลงออกได้ ๔ ชนิด คือเสียงพาทย ๑ เสียงพิณ ๑ เสียงเลื่อน ๑ เสียงขับ ๑ ขอกล่าวถึงเสียงพาทยและเสียงพิณก่อน เพราะในศิลาจารึกและในหนังสือโบราณ เช่น เตภูมิกถา สมัยกรุงสุโขทัย มักกล่าวคำควบกันเสมอ เช่น "เสียงพาทย์แลพิณ ฆ้องกลองแตรสังข์กังสดาล" และ "เสียงพาทย์ เสียงพิณ แตรสังข์ทั้งหลาย"

วงปีพาทย์ผสม
วงมโหรี ๖ คน

  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวินิจฉัยไว้ว่า "ระบอบเครื่องปัญจดุริยางค์ซึ่งมาทางบาลี เมื่อเอาเข้าปรับกับเครื่อง(ปี่พาทย์)ของเรา ก็เห็นเข้ากับปัญจดุริยางค์(ของอินเดีย) ทุกอย่างไป อาตตะ ได้แก่ โทน รำมะนา วิตตะ ได้แก่ กลองทัด กลองละคอนชาตรี, อาตตะ-วิตตะ ได้แก่ ตะโพน เปิงมาว สองหน้า, ฆนะ ได้แก่ ฆ้อง ระนาด ฉิ่ง ฉับ สุสิระ ได้แก่ ปี่ ขลุ่ย"
ปี่พายท์เครื่องห้า (เดิม)

 การผสมวงปี่พาทย์แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาตามที่กล่าวไว้ใน "พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน" มิได้ระบุคนประจำเครื่อง นองจากกล่างถึงไฉนยไพเราะห์ ซึ่งคงจะเป็นคนเป่าปี่ และที่ว่านายวงสี่คนในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนั้น อาจหมายถึง คนบรรเลงประจำเครื่อง ๕ คน ในวงปัญจดุริยางค์คือเครื่อง ๕ ก็ได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงเครื่องบรรเลงไว้ว่า "ปี่พาทย์เครื่องห้าที่ไทยเราใช้กันมาแต่โบราณมาแต่เบญจดุริยางค์ที่กล่าวมา แต่มีต่างกันเป็น ๒ ชนิดเป็นเครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละคอนกันในพื้นบ้าน (เช่น พวกละคอนชาตรีทางหัวเมืองปักษ์ใต้ ยังใช้อยู่จนทุกวันนี้) ชนิด ๑ เครื่องอย่างหนัก สำหรับเล่นโขน ชนิด ๑ ปี่พาทย์ ๒ ชนิดที่กล่าวมานี้คนทำวงละ ๕ คนเหมือนกัน แต่ใช้เครื่องผิดกัน
"ปี่พาทย์เครื่องเบา วงหนึ่งมี :- ปี่ เป็นเครื่องทำลำนำ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่เป็นเครื่องทำจังหวะ ๑ ลักษณะตรงตามตำรา เดิม ผิดกันแต่ใช้ทับแทนโทนใบ ๑ เท่านั้น
"ส่วนปี่พาทย์เครื่องหนัก นั้น วงหนึ่งมี :- ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ โทน(ตะโพน) ๑ ใช้โทนเป็นเครื่องทำเพลงและจังหวะไป ด้วยกัน ถ้าทำลำนำที่ไม่ใช่โทน ก็ให้คนโทนตีฉิ่งให้จังหวะ
"เหตุที่ผิดกันเช่นนี้ เห็นจะเป็นเพราะการเล่นละคอน มีขับร้องและเจรจาสลับกับปี่พาทย์ ปี่พาทย์ไม่ต้องทำพักละช้านานเท่าใด นัก แต่การเล่นโขนจะต้องทำปี่พาทย์พักละนานๆ จึงต้องแก้ไขให้มีเครื่องทำลำนำมากขึ้น แต่การเล่นละคอนตั้งแต่เกิดมีละคอนใน ขึ้นเปลี่ยมาใช้ปี่พาทย์เครื่องหนักอย่างโขน ปี่พาทย์ที่เล่นกันในราชธานี จึงใช้แต่พาทย์เครื่องหนักเป็นพื้น"
"ปี่พาทย์เครื่องหนักในสมัยเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มี :- ปี่ เลา ๑ ระนาด ราง ๑ ฆ้องวง ๑ ฉิ่งกับโทน ๑ กลองใบ ๑ รวม เป็น ๕ ด้วยกัน แต่ปี่นั้นใช้ขนาดย่อม อย่างที่เรียกว่าปี่นอก กลองก็ใช้ขนาดย่อมอย่างเช่นเล่นหนัง (ใหญ่) แก้ไขขั้นแรก คือ ทำปี่และ กลองให้เขื่องขึ้น สำหรับใช้กับเครื่องปี่พาทย์ที่เล่นในร่มเพื่อเล่นโขนหรือละคอนใน ปี่ที่มีขึ้นใหม่นี้เรียกว่า "ปี่ใน" ส่วนปี่และกลองอย่าง ของเดิม คงใช้ในเครื่องปี่พาทย์เวลาทำกลางแจ้ง เช่นเล่นหนัง (หนัง) จึงเรียกปี่นอก หนวกหูชาวบ้าน ใครจะมาเล่นเป็นของจริง จังขึ้นไม่ทราบ จำได้แต่ว่าเจ้าพระยาเทเวศรท่านได้อาไม้นวมมาเล่นรับร้องในบ้านท่าน ส่วนที่เอาตะโพนใช้ต่างกลองทัดนั้นก็เพราะ ปี่พาทย์ทำไม้นวม ถ้าเอากลองใหญ่เข้าตีก็จะดังกลบเสียงปี่พาทย์เสียหมด จึงเปลี่ยนใช้ตะโพนซึ่งจะหยิบได้ง่ายที่สุด ที่จริงที่เรียกว่า ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ นั้น มิได้ปรุงขึ้นสำหรับเล่นละคอนดึกดำบรรพ์ เล่นรับร้องอยู่ก่อน รู้สึกว่าฟังดี มีละคอนดึกดำบรรพ์ขึ้นก็ โอนเอาไปเท่านั้นเอง"

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ที่ทรงปรับปรุงผสมวงขึ้นจึงประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้
๑. ระนาดเอก (ตีด้วยไม้นวม)
๒. ระนาดทุ้มไม้
๓. ระนาดทุ้มเหล็ก
๔. ฆ้องวงใหญ่
๕. ซออู้
๖. ขลุ่ย
๗. กลองตะโพน ๒ ลูก (ตั้งหน้าขึ้นตีแทนกลองแขก)
๘. ฆ้องหุ่ย ๗ ลูก (ทำราวแขวนเทียบสูงต่ำเรียงลำดับกัน)
๙. ตะโพน
๑๐. ฉิ่ง

 ดูเหมือนว่า แต่นั้นมาในวงการปี่พาทย์ไทย ก็เกิดมีศิลปใหการบรรเลงขึ้นเป็น ๒ อย่าง เรียกกันว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง อย่าง ๑ และ ปี่พาทย์ไม้นวม อย่าง ๑ จะเป็นปี่พาทย์เครืองห้า เครื่องี่ หรือเครื่องใหญ่ ก็ตามถ้าใช้ไม้ตีระนาดเอกชนิดไตีทำแข็งโดยพอกผ้าชุบน้ำ รักตีเข้าผสมวง เรียกว่าปี่พาทย์ไม้แข็ง ถ้าไม้ตีใช้ผ้าพันแล้วถักด้วยเส้นด้ายสลักจนนุ่ม ตีเข้าผสมวง ใช้ขลุ่ยเป่าแทนปี่และบางทีก็ใช้ ซออู้เข้าผสมด้วย เรียกว่า ปี่พาทย์ไม้นวม
วงเครื่องสาย

  เราได้พบคำ " ดุริยดนตรี " ในหนังสืออื่นมาหลายแห่ง ข้าพเจ้าเองก็ได้นำเอาคำเหล่านี้มากล่าวถึงไว้ข้างต้น ซึ่งได้ประมวลเรื่องและวินิจฉัยมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะคำ " ดุริย " ว่าหมายถึงเครื่องตีเครื่องเป่าที่จำแนกประเภท เป็น ปัญจังคิกะตุริยะ แล้วมาเป็นเบญจดุริยางค์แล้ววิวัฒนาการมาเป็นวงปี่พาทย์ไทยของเรา ดังกล่าวมาข้างต้น
ส่วนคำ"ดนตรี"เป็นคำที่มาจากคำบาลี-สันสกฤต ถ้าเป็นรูปศัพท์บาลี เป็น "ตนฺติ"รูปศัพธ์สันสกฤต เป็น"ตนฺตรินฺ" คำว่า "ตนฺตรินฺ"คำว่า"ตนฺติ"แปลว่า เชื้อสาย,วงศ์วาน,ประเพณี,คัมภีร์ แล่ะ เครื่องมีสาย มีคำบาลีในสักกปัญหสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสชื่นชมการขับร้องบรรเลงพิณของปัญจสิขเทพคนธรรพ์ว่า"คีตสฺสโรจตนฺติสฺสเรน" แปลว่า"เสียง- เครื่องร้องประสานกันดีกับเสียงเครื่องสาย"เพราะฉะนั้นคำดนตรี ที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย ก็น่าจะหมายถึงเครื่องสาย คือ เครื่องดีดและเครื่องสีโดยเฉพาะ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ปรากฏในกฎมนเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวไว้ว่า"ขุนศรี สังกร เป่าสังข์ พระอินทโร ตีอินทเภรี พระนนทิเกษ ตีฆ้องไชย ขุนดนตรี ตีหรทึก" และอีกแห่งหนึ่งก็ระบุว่า"ศรีเกตตี ฆ้องไชย ขุนดนตรี ตีหรทึก" ตามชื่อและตามความหมายของคำ ขุนดนตรี ควรจะมีหน้าที่ทางเครื่องสาย เหตุใดจึงไป ทำหน้าที่ตีมโหรทึก หรือไปทำเฉพาะคราวเฉพาะพิธี แต่ก็มีกล่าวถึงต่อไปอีกว่า"ชาวดนตรีคอยฟังสุรเสียงครั้นตรัสให้ จัดสำรับขลุ่ยนำเพลง" ชาวดนตรีกลับไปจัดเครื่องเป่า คือสำรับขลุ่ยเสียอีก แทนที่จะจัดเครื่องดีดสี แต่ที่กล่าวถึง ราชานุกิจของพระมหากษัตริย์ว่า"๖ทุ่มเบิกเสภาดนตรี"ก็มีคำ"ดนตรี" ในที่นี้หมายความว่าอะไร?สมัยนั้นเห็นจะไม่ได้ หมายถึงเครื่องดีดสี ถ้าหมายถึงเครื่องดีดสี หรือมีเครื่องสาย อาจใช้คำว่า "พีณ" เช่นระบุถึงไว้ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ว่า"เครื่องพาทย์ เสียงพีณ" หรือ"ดูรยพาพิณ" ดังกล่าวข้างต้น และอาจนำเอาคำ"ดนตรี"ไปใช้เป็นคำรวมหมายถึง เครื่องดีดสีตีเป่าทั่วไปเช่นที่ใช้เป็นคำควบว่า"ดุริยดนตรี"หรือเช่นที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน ดนตรี หมายถึง MUSIC และเครื่องดนตรี หมายถึง MUSICAL INSTRUMENTS ไม่ว่าจะเป็น ขลุ่ย ปี่ ฆ้อง กลอง ระนาด หรือ พิณ ซอ จระเข้ กระจับปี่ ซึง ปัจจุบันเราใช้เป็นคำรวมเรียกว่า เครื่องดนตรี ทั้งนั้น
 ตามที่กล่าว อาจเห็นได้ว่า วงเครื่องสาย มิได้วิวัฒนาการหรือมีการกำเนิดสืบเนื่องมาจากความหมายเดิมของคำ "ดนตรี"แต่ถ้าเป็นไปได้ อาจวิวัฒนาการมาจากบรรเลงพิณ ที่ระบุไว้เป็นหลักของเครื่องดีดสีในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย แล้วมาเล่นร่วมกับขับไม้และมาผสมวงเป็นคล้ายๆกับ วงเครื่องสาย และโดยเหตุผลที่เราไม่รู้ที่มาและความหมายของ คำ"มโหรี"หรือเคยรู้แล้วลืมหายไปเสียในอดีตกาลอันมืดมนท์ จึงเลยนำคำ"มโหรี"มาเรียกควบกับเครื่องสาย แล้วเลย เรียกสับสนกันไปว่า"มโหรีเครื่องสาย"โดยไปเพ่งเอาเครื่องดนตรีที่นำเข้าเล่นผสมวงเป็นหลัก ซึ่งแท้จริง มโหรีเขามีหลัก การและความหมายโดยเฉพาะอยู่แล้ว ดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น

วงเครื่องสาย ต่อ

  ส่วนวงเครื่องสายนั้น อารจวิวัฒนการมามาโดยตนเอง และแต่เดิมอาจไม่เกี่ยงกับมโหรี และปี่พาทย์เลยก็ได้ ก็กล่าวถึงเครื่งดนตรีหลายชิ้น ที่มีใช้อยู่แล้วในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่นระบุถึงไว้ในกฎมนเทียรบาลว่า"ร้อง(เพลง)เรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ ตีทับขับรำโห่ร้องนี่นัน" และกล่าวถึงว่า "ร้องเพลงเรือ เป่าปี่เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับ" ดังนี้ คงหมายถึงเครื่องดนตรีบางอย่างที่มีอยู่สมัยนั้น เป็นต่างคนต่างเล่น คงมิด้หมายถึง การผสมวงที่ปรับปรุงตามแบบฉบับ จึงยังไม่พบเป็นหลักฐานว่า วงเครื่องสายในสมัย กรุงศรีอยุธยา ผสมวงกันอย่างไร?
สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทานอธิบายถึงกำเนิดวงเครื่องสายไว้ว่า "ผู้ชายบางพวกซึ่งหัดเล่นเครื่องสายอย่างจีน จึงคิดกันเอาซอด้วง ซออู้จะเข้ กับปี่อ้อ เข้าเล่นผสมกับเครื่องกลองแขก เครื่องผสมอย่างนี้ เรียกกันว่า กลองแขกเครื่องใหญ่" ซึ่งภายหลังเราเรียกการผสมวงแบบนี้ว่า "เครื่องสายปี่ชวา" แล้วทรงกำหนดเวลาไว้ว่า "เห็นจะเกิดขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่๔ ด้วยเมื่อตอนต้นรัชกาลที่๔ ยังถือกันว่าเป็นของเกิดใหม่" และทรงประทานอธิบายต่อไปว่า "ครั้นต่อมากลองแขกกับปี่อ้อออกเสีย ใช้ทับกับรำมะนาและขลุ่ย แทนเรียกว่า'มโหรีเครื่องสาย' บางวงก็เติมระนาดและฆ้องเข้าด้วย จึงเกิดมีมโหรีเครื่องสาย ผู้ชายเล่นแทนมโหรีผู้หญิงอย่างเดิมสืบมาจนทุกวันนี้ ที่ผู้หญิงหัดเล่นก็มีแต่น้อยกว่าผู้ชายเล่น แต่การเล่นมโหรีเครื่องสายในชั้นหลังมา ดูไม่กำหนดเครื่องเล่น เช่น ซอด้วงและซออู้เป็นต้น แล้วแต่มีคนสมัครเล่นเท่าใด ก็เข้าเล่นได้...มาจนถึงสมัยปัจจุบันนี้บางวงแก้ไขเอาซอด้องซออู้ ออกเสีย ใช้ขิมและฮาโมนียมฝรั่งเข้าประสานแทน ก็มี"(จากตำนานมโหรีปี่พาทย์ พระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับชำระใหม่พ.ศ.๒๔๗๓ หน้า ๒-๓) แต่ต่อมาในภายหลังเรงไม่เรียกวงแบบนี้ว่า"มโหรีเครื่องสาย" แต่เรียกกันว่า"วงเครื่องสาย" และตั้งแต่ในรัชกาลที่๖ มา เมื่อผู้นำเอาขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกนและเครื่องอื่นๆบ้าง เข้าเล่นผสมวง จึงเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสายผสม ออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง ก็เรียกกันกว้างๆว่า"วงเครื่องสายผสม" เมื่อเกิดวงเครื่องสายขึ้นแล้ว ก็นำเอาศิลปแห่งการรับร้องของมโหรีและปี่พาทย์ มาใช้กับวงเครื่องสายด้วย ศิลปการรับร้องจึงกลายเป็นสมบัติสาธารณะแก่วงดนตรีไทย อย่างหนึ่งแต่วงเครื่องสายก็ยังเป็นวงดนตรีประเภทขับกล่อมเพื่อความรื่นรมย์ มิใช่บรรเลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์
วงเครื่องสายปัจจุบัน
  วงเครื่องสายที่ถือเป็นแบบแผน ตามวิชาการดนตรีไทยนั้น กำหนดเป็น๒ขนาด
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
(ก)วงเครื่องสายวงเล็ก(หรือเครื่องเดี่ยว)

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ
๑.ซอด้วง ๑คัน
๒.ซออู้๑คัน
๓.จะเข้๑คัน
๔.ขลุ่ยเพียงออ๑เลา
๕.โทน๑ใบ
๖.รำมะนา๑ใบ
๗.ฉิ่ง๑คู่
(ข)วงเครื่องสายวงใหญ่((หรือเครื่องคู่)
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีคือ
๑.ซอด้วง ๒คัน
๒.ซออู้ ๒คัน
๓.จะเข้ ๒คัน
๔.ขลุ่ยเพียงออ ๑เลา
๕.ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา
๖.โทน ๑ใบ
๗.รำมะนา ๑ใบ
๘.ฉิ่ง ๑คู่
๙.ฉาบเล็ก ๑คู่

 หมายเหตุ-ซออู้ ๒ คันนั้น ใช้เฉพาะวงที่ปรับเสียงให้ประสานและสอดคล้องกันดีแล้ว หากเป็นวงผสมที่มิได้ปรับทำนองเพลงไว้ควรใช้ซออู้คันเดียว